วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Software

ซอฟต์แวร์ (Software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

ความสัมพันธ์ระหว่าง Software กับ Hardware
ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู

ประเภทของซอฟต์แวร์

การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
  1. การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System/Infrastructure software) ใช้ในการทำให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยรวมถึงระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ และระบบหลักของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
    • โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินงานต่าง ๆ โดยทั่วไปเช่น โปรแกรมสำนักงาน ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์เกม เว็บเบราว์เซอร์ โดยโปรแกรมประยุกต์จะมีจียูไอ
    • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Tools/Utilities) ประกอบไปด้วยเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมอื่น ๆ หรือโปรแกรมประยุกต์ได้ เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบไปด้วย คอมไพเลอร์ อินเตอร์พรีเตอร์ ดีบักเกอร์
  2. การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
    • ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
  3. การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
    • ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
    • ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น


เครดิต: บทความ ซอฟต์แวร์ จาก วิกิพีเดีย (ภาษาไทย)


Cc.logo.circle.svg



อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 Unported

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

เนื้อเรื่องสมมติ
สมชายเป็นผู้ลงสมัครเป็นผู้แทนราษฎร เขามีคู่แข่งทางการเมืองอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่าสมหญิง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ สมชายไม่ได้รับการเลือก แต่สมหญิงได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น สมชายรู้สึกผิดหวังเป็นอย่างมาก และรู้สึกเคียดแค้นต่อสมหญิงเป็นอย่างมาก เมื่อเวลาผ่านไป สมชายใช้เวลาในการเรียนรู้การเจาะระบบคอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกัน สมหญิงก็ได้รับความไว้วางใจ
จากประชาชนชาวไทย จนได้รับการเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี สมชายยิ่งรู้สึกเคียดแค้นเข้าไปอีก
สมชายพยายามเจาะระบบเข้าถึงคอมพิวเตอร์ที่มีการป้องกันของสมหญิง แต่ไม่เป็นอันสำเร็จ
สมชายจึงส่งสายลับชื่อสมหมายไปเป็นทีมงานของสมหญิง และสมหมายก็ได้ล่วงรู้วิธีการเข้าสู่
ระบบคอมพิวเตอร์ของสมหญิงในที่สุด สมหมายซึ่งเป็นสายลับนำวิธีการมารายงานต่อสมชาย
สมชายนำวิธีการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของสมหญิงที่ได้รับมาจากสมหมาย มาใช้งาน
และสมชายก็สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของสมหญิงได้ในที่สุด
หลังจากนั้นก็ได้เข้าไปลบข้อมูลทั้งหมดของสมหญิง ส่งผลให้งานราชการทั้งหมดที่สำคัญต่อ
ระบบเศรษฐกิจและความปลอดภัยของประเทศหายไป

บทลงโทษ
สมชาย
มาตราที่ ๕ เนื่องจากเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของสมหญิงโดยมิชอบ
มาตราที่ ๗ เนื่องจากเข้าใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของสมหญิงโดยมิชอบ
มาตราที่ ๙ เนื่องจากลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของสมหญิงโดยมิชอบ
มาตราที่ ๑๒ เนื่องจากกระทำความผิดตามมาตราที่ ๙ และเกิดความเสียหายต่อข้อมูล
      คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศ และความมั่นคงใน
      ทางเศรษฐกิจของประเทศ
สมหมาย
มาตราที่ ๖ เนื่องจากนำวิธีในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไปเผยแพร่โดยมิชอบ



สมาชิกกลุ่ม
ด.ช.ชยุตม์ โรจนสุนทร
ด.ช.ชวิศ อาภรณ์วิรัตน์
ด.ช.ปั้น ขอไพบูลย์
ด.ช.ภาสพล เสาวคนธ์
ด.ช.ภึมชัย เสวกสุริยวงศ์
ด.ช.สมิทธิ รังสิยวัฒน์